fbpx skip to Main Content
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ”ฟันคุด”

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ”ฟันคุด”

 ฟันคุดเป็นฟันแท้ที่ไม่สามารถขึ้นมาได้ตามปกติ ฝังตัวอยู่ที่ขากรรไกรใต้เหงือกบริเวณกราม ซึ่งเป็นฟันซี่ที่อยู่ด้านในสุด โดยฟันคุดจะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หากตัวฟันไม่โผล่ขึ้นมาเหนือเหงือก ต้องใช้การเอกซเรย์จึงจะสามารถเห็นได้ วันนี้เรามีเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ “ฟันคุด” มาฝากกันค่ะ

 

ฟันคุดจำเป็นต้องผ่าไหม

  • จำเป็นเพราะจะทำให้ฟันซี่ข้างเคียงผุ เหงือกอักเสบ หรือทิ้งไว้นานอาจจะเกิดถุงน้ำในกระดูกขากรรไกรได้

จำเป็นต้องถอนฟันคุดก่อนจัดฟัน หรือถอนหลังจากจัดฟัน

  • ในการถอนฟันคุดต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของทันตแพทย์ผู้จัดฟัน เพราะฟันคุดในบางกรณีมีประโยชน์ในการช่วยจัดฟัน แต่โดยส่วนใหญ่ 80% จะเอาออก เพื่อไม่ให้เบียดพื้นที่ในการขยับฟัน

อาหารที่เหมาะสำหรับผู้ที่ผ่าฟันคุด

  • ควรงดอาหารเผ็ด ร้อน รสจัด และแอลกอฮอล์เพราะจะทำให้แผลหายช้า อาหารที่สามารถกินได้ เช่น ข้าวต้ม อาหารนิ่มๆ

มีประจำเดือนสามารถผ่าฟันคุดได้

  • แม้ในช่วงมีประจำเดือนจะเสียเลือดไป แต่ในระหว่างที่ผ่าฟันคุดก็ไม่ได้ทำให้เสียเลือดมากถึงขนาดทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย จึงสามารถผ่าได้ปกติ

โรคที่ห้ามผ่าฟันคุด

  • ส่วนใหญ่เป็นโรคที่ควรระวัง เช่น โรคเลือด โรคเบาหวาน ต้องมีการปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อดูเป็นบางกรณี เพราะบางรายต้องมีการติดตามผลหลังผ่า หรือบางรายต้องใช้สารห้ามเลือด และดูระดับน้ำตาลสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

ยาหรือวิตามินที่ห้ามกินก่อนไปผ่าฟันคุด

  • เช่น ผู้ป่วยที่ต้องกินยาละลายลิ่มเลือดก็จะมีผลต่อการรักษาโรคประจำตัว ผู้ป่วยจะต้องแจ้งรายละเอียดทันตแพทย์ตามจริง เพื่อการรักษาที่ไม่เป็นอันตราย

ฟันคุดลักษณะไหนที่ไม่ควรผ่า

  • หากทันตแพทย์ได้พิจารณาแล้วว่าอาจไปกระทบต่อเส้นประสาท หรือเกิดผลเสียมากกว่าผลดี ทันตแพทย์จะเอ็กซเรย์เพื่อประเมินได้ทันที หากไม่สามารถผ่าออกได้คุณหมออาจจะมีการนัดให้มาตรวจอย่างสม่ำเสมอ

ห้ามบ้วนเลือดหลังจากผ่าฟันคุด

  • หลักจากผ่าฟันคุดออกใน 1 ชั่วโมงแรก ไม่ควรบ้วนเลือดออก เพราะจะทำให้ลิ่มเลือดไม่แข็งตัว และเลือดจะไหลไม่หยุด เพราะฉะนั้น ใน 1 ชั่วโมงแรกไม่ควรบ้วนเลือดหรือน้ำลาย ต้องกลืนให้หมดแล้วเลือดจะหยุดไหล

ฟันคุดเกิดขึ้นกับทุกคนหรือไม่

  • ไม่ได้เกิดกับทุกคน ขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์ ลักษณะขากรรไกร เพราะฟันคุดเกิดจากความไม่สัมพันธ์กันกับลักษณะของฟัน และขากรรไกร เช่น ขากรรไกรเล็กฟันซี่ใหญ่

การสังเกตการเกิดฟันคุด

  • ส่วนใหญ่จะเกิดกับฟันซี่สุดท้ายในช่องปาก ส่วนใหญ่จะเกิดในช่วงอายุ 15-25 ปี เพราะฉะนั้นต้องหมั่นสังเกต เช่น ถ้ามีตุ่มขึ้นตรงด้านท้ายของเหงือกก็ลองไปเอ็กซเรย์ดู หรือบางกรณีฟันขึ้นมาไม่เต็มซี่ ขึ้นเอียง เหงือกบวม ก็นับเป็นลักษณะทั่วไปของการเกิดฟันคุด

 

การดูแลรักษาฟันเป็นเรื่องสำคัญที่บ่งบอกถึงสุขภาพในช่องปาก หากปล่อยให้เกิด ฟันผุ ฟันคุด หรือโรคเหงือกจะเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพช่องปากที่ร้ายแรง  อย่างไรก็ตามปัญหาที่เกิดจากฟันคุดเป็นสิ่งที่สร้างผลกระทบทั้งสุขภาพในช่องปากรวมไปถึงสุขภาพกายที่สร้างความลำบากในการรับประอาหาร ดังนั้นหากสงสัยหรือรู้สึกมีความผิดปกติเกี่ยวกับเหงือก และฟัน ควรรีบพบทันตแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยทำการรักษาอย่างถูกวิธีกันนะคะ

 

ข้อมูลจาก : thaihealth

Back To Top